วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ 2566 นายศิริโชค แก่นการ นักวิชาการเกษตร จากสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และนายอุทิศ คำพระโคตร นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้ทำการมอบ ปอเทือง แก่ประชาชนในตำบลนาแก้ว เพื่อใช้ในการเกษตรปรับปรุง บำรุงดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย ให้เหมาะสมต่อการเกษตร

ความหมายและสัญลักษณ์ของ อถล. 

อถล. เป็นการรวมกลุ่มของประชาชนในท้องถิ่นที่มีจิตอาสาในการช่วยเหลืองานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

“อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า ประชาชนที่มีจิตอาสา สมัครใจ เสียสละ และอุทิศตน เพื่อช่วยเหลืองานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ชื่อย่อว่า “อถล.” มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV” 

“เครือข่ายอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก” หมายความว่า การเชื่อมโยงกันของ อถล. เพื่อการเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร หรือทํากิจกรรมร่วมกัน ในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติด้วยความเป็นอิสระและเท่าเทียมกันของบุคคล ภายใต้พื้นฐานการเคารพสิทธิและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และใช้หลักธรรมาภิบาลในการทํางานร่วมกัน โดยใช้ชื่อย่อว่า “เครือข่าย อถล.” และเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า “Local Environment Volunteer Network” และใช้ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า “LEV-Net"

ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)

*****************************************

ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  มีการริเริ่มโครงการอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)  เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ตามแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ   เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน   ด้วยการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอย่างเป็นระบบ    โดยใช้หลัก 3Rs : Reduce Reuse และ Recycle (ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่)  และช่วยปกป้อง   รักษาสิ่งแวดล้อม   การดำเนินการดังกล่าวจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน   ในการเริ่มจากการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก  การเรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับเยาวชน  การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชน   อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) คือ  บุคคลที่มีความสนใจ  มีความสมัครใจ  มีความเสียสละและอุทิศตนในการทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย  การปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตน   ซึ่งบุคคลที่จะสมัครเป็น อถล. ได้จะต้องมีคุณสมบัติในเบื้องต้น  ดังนี้

 อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก 

(๑)  มีสัญชาติไทย

(๒)  มีอายุไม่ต่ำกว่า 7 ปีบริบูรณ์

(3)  มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

(4)  มีความสมัครใจและมีจิตอาสาเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรมด้านการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย รวมถึงการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม

                        (5)  เป็นบุคคลที่มีความเสียสละและอุทิศตัวในการทำงานเพื่อส่วนรวม

                        (6)  เป็นบุคคลที่ตระหนักถึงการทำงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

                        (7)  เป็นบุคคลที่เปิดโอกาสให้กับตัวเองและผู้อื่นในการแสวงหาความรู้ และเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์

*** กรณีที่ผู้สมัครไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย  ให้คณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครรักษ์โลกระดับท้องถิ่น เป็นผู้พิจารณารับสมัครเป็น อถล.

งานวันวิสาขบูชา


      จังหวัดสกลนคร ได้จัดงานวันวิสาขบูชาเพื่อเป็นการบูชาเนื่องในวัน "วิสาขบุณมี" หรือวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2566 โดยเทศบาลตำบลนาแก้ว นำโดย นายพัยทูล เจริญคร รองนายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว นำคณะข้าราชการ พนักงานจ้าง เข้าร่วมกิจกรรม ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

«ความเป็นมาและความหมายของวันวิสาขาบูชา»

« วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธโคดม โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท
« วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
« วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
« วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก  (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากล" (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 54/112 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 นี้ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พศ.2566 นายอุทิศ คำพระโคตร นายกเทศมนตรี ได้มอบหมายให้ นายทิวา นนท์ไพวัลย์ นิติกร ร่วมกับเกษตรอำเภอโพนนาแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน ม.10และผู้แทนทุกภาคส่วน เพื่อประชาคมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน " ประชาคมการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์เป็นที่ตั้งที่ทำการสำนักงานเกษตรอำเภอโพนนาแก้ว"  ณ วัดทุ่งกลางใหม่ หมุ่10 ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร 

66833
66832
66831
66830
66829
66827
66828
66825
66826

     เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 นายอุทิศ คำพระโคตร นายกเทศมนตรีตำบลนาแก้ว ได้มอบหมายให้ นายวงศธร ศรีเพชร รองปลัดเทศบาล และนางดาริกา เกตุวงษา ผู้อำนวยการกองช่าง พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่ายการโยธา นิติกร และผู้แทน เพื่อประชาคมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน "โครงการก่อสร้างโรงงานเกี่ยวกับไม้(โรงงานประเภทที่34)" ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองกระบอก ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

49509
49505
49504
49503
49501
49044
49041
49015

แบบสอบถามเกี่ยวกับร่างเทศบัญญัติ

 

ขออนุญาตใช้เสียง

 

กิจการสภาเทศบาลตำบลนาแก้ว